Wimax ตอนที่ 2

Last updated: 28 มี.ค. 2560  |  11699 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Wimax  ตอนที่ 2

 

WiMAX Technology ( ตอนที่ 2 )

การทำงานและความสามารถของ WiMAX
http://www.servcomp.co.th/solution/WiMax_part2/pic/mobile.jpg

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบอัตาความเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลไร้สาย ในแบบต่างๆ

      WiMAX มีความสามารถในการส่งกระจายสัญญาณจากจุดเดียวไปยังหลายจุด (Point-to-Multipoint) และสามารถทำงานในแบบ (Non-Line-of-Sight) คือ สามารถทำงานได้แม้มีสิ่งกีดขวางก็ตาม เช่น อาคาร ต้นไม้ ได้เป็นอย่างดี WiMAX สามารถทำการเชื่อมต่อแบบไร้สายได้ด้วยความรวดเร็วและต่อเนื่อง และรองรับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภาพ เสียง วีดีโอสตรีมมิ่ง ไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ และยังช่วยให้ผู้ใช้งานที่ต้องการใช้งาน Application อยู่ที่บ้าน หรือที่ทำงาน และแม้กระทั่งระหว่างการเดินทาง ให้สามาถเข้าถึงบริการต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่น

รูปแบบการใช้งาน WiMAX ในส่วนต่างๆ

      ระบบบรอดแบนด์ตามความต้องการ (Broadband on-demand) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น จะช่วยให้เหล่าโอเปอเรเตอร์ต่างๆ สามารถจัดสรรงานบริการที่มีความเร็วสูงเทียบเท่าระบบเครือข่ายแบบใช้สายได้ โดยใช้เวลาการติดตั้งที่น้อยกว่า มีราคาที่ถูกกว่ามาก นอกจากนั้น WiMAX ก็ยังช่วยให้มีการจัดเตรียมการใช้งานระบบสื่อสารความเร็วสูงในรูปแบบตามความ ต้องการได้ในทันทีทันใด โดยรูปแบบนี้เหมาะสำหรับการทำงานในแบบชั่วคราว อาทิเช่น การจัดนิทรรศการ การจัดงานงานประชุม การจัดงานแสดงสินค้า เป็นต้น

      ระบบการสื่อสารบรอดแบนด์สำหรับที่พักอาศัย ขณะ ที่เทคโนโลยีการใช้งานสายเคเบิลและเทคโนโลยี DSL ที่ถูกใช้งานในปัจจุบันนั้นมีช่องว่างในการใช้งานมาก ด้วยข้อจำกัดของการวางโครงข่ายที่มีอยู่และต้นทุนของการวางระบบ ทำให้ไม่สามารถให้บริการกับผู้ที่ต้องการใช้งานจำนวนมากซึ่งต้องการระบบการ สื่อสารระดับบรอดแบนด์ได้ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้จะถูกทลายลง เมื่อมีการเปิดตัวระบบที่อ้างอิงกับมาตรฐาน WiMAX ออกมา โดยแอพพลิเคชันสำหรับการสื่อสารบรอดแบนด์ไร้สาย WiMAX จะช่วยให้สามารถพัฒนางานต่างๆ ที่สนองตอบความต้องการการใช้งานบรอดแบนด์ในรูปแบบต่างๆ ได้

      พื้นที่ซึ่งบริการเข้าไม่ถึง นับว่าเทคโนโลยีระบบการสื่อสารอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่ได้อ้างอิง กับมาตรฐาน WiMAX นี้เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการใช้งานในพื้นที่ห่างไกล ในเขตที่มีข้อจำกัดของการเดินสายนำสัญญาณในระบบ DSL บริการการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูง มาตรฐานIEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้นเป็นคุณสมบัติแบบพิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้อง เคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์ในแบบพกพาสำหรับการเดินทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานยังสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดีและ มีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้ว่ามีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul ด้วยแบนด์วิดท์การใช้งานของ WiMAX ที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือ จึงทำให้มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการที่จะนำมาใช้งานให้รองรับการส่ง สัญญาณในแบบย้อนกลับไปยังสถานีฐานระบบเซลลูลาร์ ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารกันในแบบจุดต่อจุดได้

WiMAX มีอะไรใหม่ ๆ ที่น่าสนใจบ้้าง
http://www.servcomp.co.th/solution/WiMax_part2/pic/WiMax_overview2.jpg

      เรื่องของความเร็ว สำหรับ WiMAX นั้น ได้ให้อัตราความเร็วในการส่งสัญญาณข้อมูลมากถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) โดยใช้กลไกการเปลี่ยนคลื่นสัญญาณที่ให้ประสิทธิภาพสูง สามารถส่งสัญญาณออกไปได้ในระยะทางไกลมากถึง 30 ไมล์ หรือ 48 กิโลเมตร ภายใต้คลื่นความถี่ระดับสูงที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทั้งก็ยังไม่มีปัญหาเรื่องของสัญญาณสะท้อนอีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สถานีฐาน(Base Station) ยังสามารถพิจารณาความเหมาะสมในระหว่างความเร็ว และระยะทางได้อีก ตัวอย่างเช่น ถ้าหากการใช้เทคนิคในแบบ 64 QAM (Quadarature Amplitude Modulation) ไม่สามารถรองรับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้ การเปลี่ยนไปใช้ 16 QAM หรือ QPSK (Quadarature Phase Shift Key) ซึ่งจะช่วยเพิ่มระยะทางการในการสื่อสารให้มากขึ้นได้

      การบริการที่ครอบคลุม นอกจาก WiMAX จะใช้เทคนิคของการแปลงสัญญาณที่ให้ความคล่องตัวในการใช้งานสูง และเปี่ยมประสิทธิภาพแล้ว มาตรฐาน IEEE 802.16a ก็ยังสามารถรองรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีซึ่งขยายพื้นที่การให้บริการให้ กว้างขวางมากขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่ายที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบผสมผสาน (Mesh Topology) และเทคนิคการใช้งานกับเสาอากาศแบบอัจฉริยะ (Smart Antenna) ที่ช่วยประหยัดต้นทุนและเพิ่มอัตราความเร็วของการรับส่งสัญญาณที่ให้สมรรถนะ ในการทำงานน่าเชื่อถือสูง

      ความสามารถในการขยายระบบ: WiMAX นั้นมีความสามารถในเรื่องการรองรับการใช้งานแบนด์วิดท์, ช่องสัญญาณ สำหรับการสื่อสารได้ด้วยความยืดหยุ่น โดยสามารถปรับให้สอดคล้องกับแผนการติดตั้งเซลล์ในย่านความถี่ที่ต้องจ่ายค่า ลิขสิทธิ์ หรือ ย่านความถี่ที่ได้รับการยกเว้นค่าลิขสิทธิ์ทั่วโลก อาทิเช่น ถ้าโอเปอเรเตอร์ที่ให้บริการนั้นได้รับคลื่นความที่ 20 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็สามารถที่จะทำการแบ่งคลื่นความถี่นี้ออกเป็น 2 ส่วน โดยแต่ละส่วนนั้นอยู่ที่ 10 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) หรือจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ๆ ละ 5 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ก็ได้ ทำให้โอเปอเรเตอร์สามารถบริหารจัดการแต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเพิ่มเติมผู้ใช้งานในแต่ละส่วนได้อีกด้วย

      การจัดลำดับความสำคัญของงานบริการ (QoS – Quality of Service) สำหรับระบบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน WiMAX นี้ มีคุณสมบัติด้าน QoS (Quality of Service) ที่รองรับการทำงานของบริการสัญญาณเสียงและสัญญาณวิดีโอ ซึ่งต้องการระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถทำงานด้วยความล่าช้าได้ บริการเสียงของ WiMAX นี้ อาจจะอยู่ในรูปของบริการ Time Division Multiplexed (TDM) หรือบริการในรูปแบบ Voice over IP (VoIP) ก็ได้ โดยโอเปอเรเตอร์สามารถกำหนดระดับความสำคัญของการใช้งานให้เหมาะสมกับรูปแบบ การใช้งานต่างๆ อาทิ สำหรับบริการให้องค์กรธุรกิจ, ผู้ใช้งานตามบ้านเรือน เป็นต้น

      ระบบรักษาความปลอดภัย นับเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยคุณสมบัติของการรักษาความลับของข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล ซึ่งอยู่ในมาตรฐาน WiMAX ที่จะช่วยให้การสื่อสารมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แถมยังมีระบบตรวจสอบสิทธิการใช้งานและมีระบบการเข้ารหัสข้อมูลในตัวด้วย
      สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายมาตรฐาน WiMAX นั้น มีองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งจากบรรดาบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Nokia, Intel, Proxim, Fujitsu, Alvarion ฯลฯ ที่มีชื่อเรียกกันว่า WiMAX Forum ขึ้น เพื่อร่วมกันพัฒนาและกำหนดมาตรฐานกลางของเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความ เร็วสูงมาตรฐาน IEEE 802.16 รวมถึงการทำหน้าที่ทดสอบและออกใบรับรองให้แก่อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานไร้สาย ระบบใหม่ ทั้งนี้มาตรฐาน IEEE 802.16 จะถูกเรียกกันโดยทั่วไป ว่า WiMAX เช่นเดียวกับที่มาตรฐาน IEEE 802.11 เคยได้รับการรู้จักในชื่อ Wi-Fi มาแล้ว

ศักยภาพในการให้บริการของ WiMAX

 
http://www.servcomp.co.th/solution/WiMax_part2/pic/wimax.jpg


      ศักยภาพในการให้บริการสื่อสารข้อมูล ของ WiMAX หมายถึงขอบเขตการให้บริการในพื้นที่การให้บริการและอัตราความเร็วในส่ง ข้อมูล ทั้งนี้ในปัจจุบันสถานี WiMAX แต่ละแห่งสามารถให้บริการแบบ NLOS ได้ในรัศมีทำการตั้งแต่ 4 – 9 กิโลเมตร รองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงสุดในช่วง 8 – 11.3 เมกะบิตต่อวินาที ทั้งในช่วงการส่งสัญญาณจากเครื่องลูกข่ายไปยังสถานีฐาน และจากสถานีฐานไปสู่เครื่องลูกข่าย สำหรับการใช้ WiMAX ในงานสื่อสารระยะทางไกลในรูปแบบการส่งสัญญาณแบบ LOS จะสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะทางถึง 30 – 50 กิโลเมตร ทั้งนี้ได้มีการกำหนดย่านความถี่สำหรับการใช้งานในเขตพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก ดังนี้
  • ทวีปอเมริกาเหนือ กำหนดให้ใช้ย่าย 2.5 และ 5.8 เมกะเฮิรตซ์
  • ทวีปอเมริกาใต้ กำหนดให้ใช้ย่าย 2.5 3.5 และ 5.8 เมกะเฮิรตซ์
  • ทวีปยุโรป และเอเชีย กำหนดให้ใช้ย่าย 3.5 และ 5.8 เมกะเฮิรตซ์
สถานการณ์ของ WiMAX
      ในปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบ WiMAX ไปลองใช้งานจริง ในส่วนโครงสร้างหลักได้มีการตั้งเสาสัญญาณ WiMAX กระจายเป็น เครือข่ายครอบคลุมบริเวณที่ต้องการให้บริการ หรือนำเอามาใช้เพื่อเพิ่มระยะทางในการให้บริการให้ไกลขึ้นถึงชานเมือง หรือตั้งเสา WiMAX เพื่อรับส่งข้อมูลและกระจายต่อให้กับผู้ใช้ ADSL,DSL ในพื้นที่ที่ลากสายสัญญาณหลักเข้ามาลำบากกลายเป็น Wireless Broadband นั่นเอง
      ส่วนในด้านผู้ใช้งานทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกในปี 2005 ที่ผ่านมา ได้นำเอาระบบมาให้บริการ internet โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า Fix wireless access อุปกรณ์ตัวนี้จะเป็นตัวรับสัญญาณที่สามารถติดที่ไหนก็ได้ เช่น ข้างตัวบ้าน หรือตัวตึก แล้วรับสัญญาณ WiMAX มา นำไปกระจายต่อยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ผ่าน Switch ซึ่งตัวอุปกรณ์จะอยู่กับที่ไม่ได้ขยับไปไหน ดังนั้นในช่วงที่สองหลังจากนี้ จะมีการพัฒนาอุปกรณ์ลูกข่ายให้ใช้งานมาตรฐาน IEEE 802.16e เพื่อให้ใช้งานในขณะที่มีการเคลื่อนที่ และสามารถใช้งานข้ามเสาส่งสัญญาณได้ เช่น ขับรถไปรอบเมืองก็ยังใช้งานได้
http://www.servcomp.co.th/solution/WiMax_part2/pic/WiMax_overview3.gif


ประโยชน์ของ WiMAX กับชีวิตประจำวัน
      จะเห็นได้ว่า WiMAX มีจุดเด่นคือระยะทางที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ แถม WiMAX ยังมีการ เข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้ง intenet ในสถานที่ต่าง ๆ ทำได้ง่าย เพียงติดตั้งอุปกรณ์เสียบปลั๊กและใช้งาน ทำให้ผู้ให้บริการ internet สามารถให้บริการได้หลากหลายมากขึ้น เช่น การออกร้านในศูนย์ประชุม ก็ให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็น้อยกว่า ความเร็วสูงกว่า เมื่อไปเทียบกับการให้บริการข้อมูลผ่านสายสัญญาณ การให้บริการ internet ความเร็วสูงสำหรับที่อยู่อาศัย ด้วยข้อจำกัดของการใช้งานระบบ ADSL ที่เป็นอยู่ในขณะนี้มีมากเช่น ระบบเครือข่ายที่จำกัดชุมสาย และระยะทางระหว่างผู้ใช้กับชุมสาย จำนวนผู้ใช้ที่สามารถให้บริการได้ ทำให้กลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่อาศัยถูกจำกัด ไม่สามารถให้บริการได้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นการนำเอาระบบ WiMAX มาใช้ จะเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้มากขึ้น และบริการต่าง ๆ ที่จะให้บริการก็มีมากขึ้น เช่น การดูทีวีผ่าน internet หรือการเลือกดูหนังเรื่องที่ต้องการผ่าน internet เป็นต้น การให้บริการ internet ในพื้นที่ห่างไกล หรือในชนบท ด้วยข้อดีของระบบ WiMAX ที่มีระยะทางการรับส่งข้อมูลไกล ดังนั้น พื้นที่ไหนที่ไม่สามารถให้บริการได้ทั้งสายโทรศัพท์ เคเบิล ก็เป็นอีกทางออกสำหรับการใช้งานบริการสื่อสารแบบไร้สายคุณภาพสูงมาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งเป็นส่วนต่อเติมของ IEEE 802.16a นั้น เป็นคุณสมบัติ พิเศษที่พัฒนาขึ้นมาให้รองรับการใช้งานในแบบที่ต้องเคลื่อนที่ตลอดเวลา เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาในการเดินทาง ช่วยให้ ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารที่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม การส่งสัญญาณแบบ Cellular Backhaul สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างสถานีฐานของเครือข่าย โทรศัพท์ เพราะช่องสัญญาณของ WiMAX ที่มีขนาดใหญ่ทำให้สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลของสถานีฐานได้สะดวกมากขึ้น และไม่ มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาณอีกด้วย ทำให้ต้นทุนและค่าเช่าต่อเดือนในการตั้งสถานีฐานลดลงอย่างมาก

จุดอ่อนของระบบ WiMAX
      แน่นอน… ไม่มีอะไรดีไปหมด ลองมาดูจุดอ่อนของ WiMAX กันบ้าง ความใหม่ของมาตรฐานระบบ WiMAX เนื่องจากเพิ่งมี การคิดค้นและเริ่มมาพัฒนาอย่างจริงจังไม่กี่ปี ดังนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของมาตรฐานรวมไปถึงผู้ผลิตที่นำเอา มาตรฐาน WiMAX ไปพัฒนาต่อเป็นอุปกรณ์สำหรับใช้งานจริงก็มีจำนวนน้อย อุปกรณ์ก็ยังไม่หลากหลาย ต้องอาศัยเวลาสักพักก่อนได้รับความนิยม รวมไปถึงราคาอุปกรณ์ WiMAX ที่ค่อนค้างสูงขณะนี้ ความถี่ของการให้บริการ ตามมาตรฐานของ WiMAX จะใช้ความถี่ช่วง 2-6GHz (802.16e) และ 11GHz (802.16d) ซึ่งในบางประเทศจะเป็นช่วงความถี่ที่มีการควบคุม ต้องมีการขออนุญาตก่อนให้บริการ และในบางประเทศ ไม่มีข้อกำหนดตรงนี้ ดังนั้นผู้ที่จะลงทุนวางระบบ WiMAX ต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อน

คู่แข่งที่น่ากลัว
      ถ้ามองในด้านระยะทางการให้บริการแล้ว WiMAX ถือว่าได้เปรียบคู่แข่งรายอื่นมาก แต่ถ้าดูถึงความพร้อมของตลาด และการ สนับสนุนจากผู้ผลิตแล้ว จะพบว่ามีคู่แข่งอยู่สองมาตรฐานคือ UMTS / WCDMA เป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่พัฒนามาจากระบบ GSM โดยจะเน้นเรื่องการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูล โดยจะได้ความเร็วตั้งแต่ 2Mbps จนถึง 10Mbps จุดเด่นของระบบนี้คือ ผู้ผลิต อุปกรณ์มือถือมี Roadmap อย่างชัดเจนแล้วว่าจะมีการผลิตอุปกรณ์มารองรับและหลากหลายแน่นอน อีกทั้งระบบเครือข่ายที่ครอบคลุม พื้นที่ให้บริการอยู่แล้ว รวมไปถึงฐานผู้ใช้งานเดิมที่มีจำนวนมากที่พร้อมจะเปลี่ยนมาใช้มาตรฐานใหม่ นี้ CDMA 2000 1xEV-DO เป็นระบบเครือข่ายโทรศัพท์อีกค่ายที่พัฒนาขึ้นมา โดยเน้นเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 2.4Mbps ในด้านความเร็วอาจสู้ลำบาก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ออกแบบมาให้มีการเพิ่มความเร็วได้ในอนาคตโดยมีการ เปลี่ยนแปลง อุปกรณ์บางชนิดที่สถานีฐาน ทำให้ค่าใช้จ่ายของการให้บริการต่ำกว่า WiMAX ที่ต้องลงทุนใหม่หมดทุกอย่าง

อนาคตของระบบ WiMAX
      ปัจจุบันมีการจัดตั้งกลุ่ม WiMAX Forum ขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์รวมของกลุ่มคน กลุ่มบริษัทไม่ว่าจะเป็นผู้วิจัย หรือผู้พัฒนา ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงผู้ทำตลาด ได้เข้ามารวมตัวกันเพื่อกำหนดมาตรฐาน แนวทางการพัฒนา และการนำมาตรฐานนี้ไปใช้งานได้จริง ยกตัวอย่างเช่น Internet Corporation, AT&T, Fujitsu, British Telecom, Samsung, Siemens Mobile, Cisco, Nokia และบริษัท ชั้นนำอีกหลายบริษัท และในประเทศไทยตอนนี้ ได้มีผู้ให้บริการโครงข่ายพื้นฐานบางที่เริ่มศึกษาถึงระบบ WiMAX โดยตั้งเป้าที่จะนำ เอามาให้บริการจริง ดังนั้นเทคโนโลยี WiMAX จึงเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ และน่าจับตามองว่าจะใช้งานได้จริงหรือไม่ และแพร่หลายมากน้อยขนาดไหน เพราะจุดเด่นของระบบไม่ว่าในเรื่องระยะทาง ความเร็ว ข้อจำกัดของการเชื่อมต่อ ได้ลบจุดอ่อนของระบบอื่นเกือบหมด เราหวังว่าจะได้สัมผัสการใช้งาน WiMAX ในบ้านได้เร็ว ๆ นี้

วิวัฒนาการของ WiMAX
      WiMAX เป็นผลต่อเนื่องจากการพัฒนามาตรฐานสื่อสาร IEEE802.16 ให้สามารถรองรับการสื่อสารอัตราเร็วสูง ประกอบกับมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจสื่อสารไร้สาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จากค่ายต่างๆ ทำให้ความร่วมมือ WiMAX Forum มีการพัฒนาเป็นลำดับ โดยเริ่มจากมาตรฐาน IEEE802.6a ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของการสื่อสารไร้สายในลักษณะของเครือข่ายแบบเซลลูล่าร์ อย่างไรก็ตามมาตรฐานดังกล่าว ยังขาดคุณสมบัติต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะมาตรฐานสัญญาณควบคุม (Signailing) ต่อมาในปี 2547 บริษัท อินเทล หนึ่งในพันธมิตร WiMAX Forum ได้ผลิดอุปกรณ์ประมวลผล(Chipset) สำหรับนำไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เครือข่าย และเครี่องลูกข่าย WiMAX โดยมีมาตรฐาน IEEE802.16d ออกสู่ตลาด ซึ่งถือเป็นมาตรฐาน WiMAX ที่เป็นสากล สำหรับพัฒนาการในอนาคตของเครือข่าย WiMAX มีชื่อเรียกว่า มาตรฐาน IEEE802.16+ ซึ่งถือเป็นการผลักดันเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายของมาตรฐานเครือข่ายไร้สายยุค ที่ 4 (4th Generation หรือ 4G)

บทสรุป
      แม้ว่าในขณะนี้ WiMAX จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ WiMAX ก็ถือว่า เป็นเทคโนโลยีที่มีอนาคตสดใส เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยตอบสนองความต้องการการใช้งานอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี และหากมองถึง ประโยชน์ในการขยายเครือข่ายบรอดแบนด์ให้เข้าถึงพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลแล้ว ผลประโยชน์ก็จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานทุกคนที่จะมีโอกาสได้ใช้เครือข่าย สื่อสารความเร็วสูงอย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงการช่วยสร้างรายได้และโอกาส ทางการตลาดให้กับเหล่าโอเปอเรเตอร์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย รวมทั้งบรรดาผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยว ข้อง และเชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยี WiMAX อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับที่ Wi-Fi ประสบความสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้